ขอวีซ่า Statement

ขอวีซ่าอเรียน และท่องเที่ยวประเทศแถบยุโรป Statement ต้องมีเงินติดในบัญชีเท่าไหร่?

 

การขอวีซ่าเที่ยวยุโรป ถือเป็นความฝันอย่างหนึ่งของใครหลาย ๆ คน แม้ว่า 26 ประเทศในแถบยุโรปที่ MESUB TRAVEL จะยกตัวอย่างให้นี้จะไม่เคร่งตรวจพาสปอร์ตเหมือนประเทศเกาหลีใต้ที่กลัวคนไทยไปเป็นผีน้อยหนีเข้าเมืองไปทำงานก็ตาม แต่ก็มีวิธีการขอวีซ่า หรือวีซ่าเชงเก้นที่ละเอียดเพื่อป้องกันเหตุหนีเขาเมืองอยู่เหมือนกันค่ะ และมีการกำหนดว่าทุกครั้งที่ขอวีซ่าในช่วงระยะเวลา 180 วัน จะเดินทางหรืออยู่อาศัยใน 26 ประเทศนี้รวมกันได้ไม่เกินระยะเวลา 90 วัน ก็เท่ากับว่าใน 1 ปี (360 วัน) คนไทยจะไปเที่ยวเล่นหรือทำงานอยู่ในประเทศฝั่งยุโรปได้ไม่เกิน 180 วันนั่นเอง

 

จะไปยุโรปต้องมีเงินติดบัญชีเท่าไหร่ ขอวีซ่า statement ต้องมีเท่าไหร่? 

มีคำถามมากมายเกี่ยวข้องกับการขอสำเนาการเดินบัญชีเพื่อเดินทางไปยังประเทศฝั่งยุโรป ทั้งเรื่องการขอ Statement ว่าต้องขอแบบไหน ถ่ายรูปจากสมุดบัญชีหรือเอาไปถ่ายเอกสารได้ไหม? บางประเทศก็ห้ามไม่ให้ Print Out ออกจาก Internet Banking และต้องมีเงินติดบัญชีเท่าไหร่ถึงจะเดินทางได้? เรื่องราวนี้มีคนมาโพสต์ใน Pantip แทบทุกวัน ซึ่งคุณเข้าไปอ่านเป็นข้อมูลคร่าว ๆ ได้ แต่ก็อย่าเพิ่งเอามาใช้ตัดสินใจ จนกว่าจะได้โทรไปถามสถานทูตเอง

บางคนกังวลไปว่าเงินติดในบัญชีส่วนตัวจะน้อยเกินไป ก็ต้องยื่นของคู่สมรสไปด้วย (เพราะถือว่าเป็นกระเป๋าเดียวกัน) ก็ทำให้ผ่านง่ายขึ้น)

บางคนมีเงินติดบัญชีน้อย แต่จองตั๋วการเดินทางและที่พักไปหมดแล้ว อาจจะเพิ่มโอกาสให้วีซ่าเชงเก้นผ่านง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องเอาเงินติดบัญชีมาคำนวณซื้อข้าวในแต่ละวัน

แต่ละประเทศคาดว่าจะดูกระแสเงินหมุนเวียนแตกต่างกัน เหมือนมีเจ้าหน้าที่สินเชื่ออยู่ในสถานทูตคอยเช็คให้

ทั้งนี้มีผู้แสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมากว่า การใช้บัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ น่าจะผ่านง่ายกว่า เพราะจากประสบการณ์ถูกเรียกให้เอาเงินออกมาฝากบัญชีออมทรัพย์ เพื่อจะได้มีสภาพคล่องหากเกิดเหตุฉุกเฉินในต่างประเทศ เงินติดบัญชีน่าจะเอาไว้คำนวณค่ากินค่าอยู่ บางประเทศจะระบุไว้ว่าใช้ระยะเวลากี่วัน ส่วน Statement บางที่ก็เคร่งว่าจะใช้ฉบับจริงที่ขอกับธนาคารเท่านัน (มีค่าใช้จ่าย 100 บาท และค่าเดินทางของผู้ขอเอง)

โดยสรุปแล้ว ขอวีซ่า statement ที่ทำให้ขอ Visa เชงเก้นผ่านง่ายก็คือ

  • มีการเดินบัญชีสม่ำเสมอ เกิน 6 เดือน
  • มีเงินหมุนเวียนในบัญชีเกิน 100,000 บาท ขึ้นไป
  • ส่วนใหญ่ดูบัญชีเงินเข้าอย่าง ออมทรัพย์ กับ กระแสรายวัน มากกว่า ฝากประจำ
  • สำเนาการเดินบัญชี ถ้าจะให้ผ่าน 100% ต้องขอกับทางธนาคารโดยตรง และควรจะเป็นบัญชีออมทรัพย์ดั่งที่แจ้งไว้ข้างต้น มีตราของธนาคาร และมีเจ้าหน้าที่ธนาคารเซ็นต์กำกับ
  • หากทำงานบริษัทที่มีความมั่นคง อย่างหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทจำกัดมหาชน ก็มีโอกาสผ่านง่ายกว่า โดยทางสถานทูตจะดูรายการเงินเข้าผ่านบัญชีเงินเดือน หรือ ใช้วิธีโทรเช็คกับที่ทำงานของคุณ

การขอวีซ่า statement จะต้องเป็นไปตามกำหนด เมื่อผ่านแล้วก็จะได้เอกสารมายื่นคู่กับพาสปอร์ต (Passport) เพื่อแสดงตัวตนเดินทางเข้าออกประเทศทุกครั้ง ก็ต้องเตรียมต่ออายุพาสปอร์ตให้ดีและไม่ให้หมดอายุก่อนเดินทาง โดยสามารถจองคิวทำวีซ่า ปรึกษาข้อมูลต่างๆผ่านระบบออนไลน์ได้แล้วที่ >> MESUB TRAVEL

หากเราไปเที่ยวหรือเดินทางทั่วโลก บางประเทศก็ไม่ได้บังคับให้ทำประกันการเดินทาง แต่สหภาพยุโรปบังคับ ดังนั้นหากต้องเดินทางทริปแรกนี้ก็ควรเลือกประกันการเดินทางที่ครอบคลุมความคุ้มครองสูงสุด เพื่อไม่ให้คุณเสียประโยชน์จากสิ่งไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนะคะ

ขอวีซ่า statement 1

เช็คยอดเงินในบัญชีรอ อยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอวีซ่า statement เท่าไหร่?

ต่อมา เราจะมาพูดถึงการทำวีซ่าสำหรับนักเรียนสำหรับน้อง ๆ กันบ้างค่ะ ที่อยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ไม่ว่าปริญญาตรีหรือปริญญาโท อยากใช้ชีวิตในต่างแดน แล้วอยากหางานทำต่อในต่างประเทศยาว ๆ ต้องห้ามพลาดค่ะ มาดูกันค่ะว่าถ้าอยากไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ต้องเตรียมเงินขั้นต่ำไปเท่าไหร่บ้าง ต้องมีเงินในบัญชีเท่าไหร่เพื่อให้วีซ่าผ่านฉลุย

*** ราคานี้แค่ค่าเทอม ค่าที่พักและค่าวีซ่า ไม่รวมค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าเอกสารอื่น ๆ ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนปรับพื้นฐานภาษา เงินสำหรับชอปปิง เพราะค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละคน และราคาตีเป็นเงินไทยอาจจะแตกต่างกันตามค่าเงิน *** 

 

อยากเรียนต่อต่างประเทศ ต้องมีงบเท่าไหร่ ?

 

ขอวีซ่า Statement
cr. ภาพจาก Wongnai
  1. เรียนต่อสหราชอาณาจักร

อันดับแรกก็คงหนีไม่พ้นสหราชอาณาจักรอังกฤษ ประเทศที่มีสถาปัตยกรรมสวย การเดินทางสะดวกครอบคลุม สามารถเดินเล่นชิล ๆ ดูบรรยากาศและเข้าไปอ่านหนังสือตามห้องสมุดได้ฟรี ๆ แถมยังมีมหาวิทยาลัยดัง ๆ มหาวิทยาลัยเก่าแก่ และมหาวิทยาลัยที่ดีติดอันดับสูงสุดในโลก ทั้งมหาวิทยาลัยเซนแอนดรูวส์ ออกซ์ฟอร์ด แคมบริจ มหาวิทยาลัยลอนดอน และอื่น ๆ อีกมากมายมหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมถูกที่สุด คือ มหาวิทยาลัย Leeds Beckett มหาวิทยาลัยเก่าแก่ มีชื่อเสียง ที่ค่าเทอมเฉลี่ยต่อปีแค่ ปีละ 405,800 บาทเท่านั้นเองค่ะ ถ้าเป็นสายวิทยาศาสตร์หรือแพทย์ ค่าเทอมก็จะแพงหน่อย ส่วนใครที่ไม่มั่นใจสกิลภาษาของตัวเอง ก็มีคอร์สเรียนปรับพื้นฐานภาษาด้วยนะ

ค่าวีซ่า : ค่าธรรมเนียมตามประเภทของวีซ่านักเรียน ถ้าเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปี ต้องทำวีซ่า Student Visitor (Tier 4) ราคา 515 USD (ประมาณ 22,600 บาท)

Bank Statement : คำนวนจากค่าเทอมที่ค้างจ่าย และมีเงินครอบคลุมค่าใช้จ่าย เก็บเงินไว้ในบัญชีประมาณ 9 เดือน ขั้นต่ำประมาณ 527,000 บาท สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่มีเงินมากขนาดนั้น สามารถใช้บัญชีของ Sponsor โดยใช้บัญชีของพ่อแม่ หรือญาติแทนได้

ค่าเทอมต่อปี

ปริญญาตรี : 405,800 – 1,045,700 บาท

ปริญญาโท : 855,000 – 1,404,500 บาท

ค่าหอพัก : ราคาแตกต่างกันไปแต่ละเมืองและแต่ละมหาวิทยาลัย ขั้นต่ำประมาณ 263,170 – 526,350 บาท ต่อปี ที่พักมีตั้งแต่หอพักมหาวิทยาลัย อพาร์ตเม้นต์ หรืออยู่กับโฮสต์

ค่าข้าวต่อมื้อ : 265 – 1,000 บาท ถ้าเป็นอาหารไทย หรือร้านอาหารที่หรู ๆ ก็อาจจะราคาแพงหน่อย แต่ถ้าซื้อของมาทำกินเองก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่ะ

  1. เรียนต่ออเมริกา

ประเทศในฝันของหลาย ๆ คน ประเทศแห่งเสรี เมืองแต่ละเมือง แต่ละรัฐก็ต่างมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ใครอยากไปเปิดประสบการณ์ชีวิตให้กว้างขึ้นต้องไม่พลาด! วิธีการสมัครก็มีหลายช่องทาง ทั้งสมัครโดยตรงผ่านมหาวิทยาลัยหรือไปเรียน Community College ก่อนค่อยเข้าไปเรียนปริญญาตรีก็ได้ มหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมเฉลี่ยไม่แพงถ้าไปเรียนสายภาษา ได้แก่ มหาวิทยาลัย Southern Nevada, Irvine Valley College, Florida นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ที่น่าเรียน และค่าเทอมไม่แพง เช่น Arizona, University at Buffalo, Illinois, Binghamton, Texas ค่าเทอมป.โท ก็ไม่แพงมาก ถ้าเป็นสายภาษา และถ้าขอวีซ่า F1 ก็สามารถทำงานในมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย ใครที่อยากทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยได้ อเมริกาก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจค่ะ

ค่าวีซ่า : 5,250 + Service 6,565 บาท รวม ประมาณ 11,815 บาท

Bank Statement : ขึ้นอยู่กับ I-20 form หรือหนังสือรับรองคุณสมบัติสำหรับนักเรียน ออกให้โดยสถาบันการศึกษา คำนวนจากค่าเทอมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ขั้นต่ำประมาณ 1,312,920 – 2,625,840 บาท เก็บไว้ในบัญชีอย่างน้อย 1-3 เดือน

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 328,230 – 1,477,035 บาท

ปริญญาโท : 656,460 – 1,312,920 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 131,290 – 262,585 บาท หอพักในมหาวิทยาลัยราคาส่วนใหญ่จะรวมค่าน้ำค่าไฟ และค่าจิปาถะอื่น ๆ แล้ว แต่ถ้าไปหาที่อยู่ข้างนอก มีค่ามัดจำล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าระบบทำความร้อน ถ้าหารกับเพื่อนราคาจะถูกลง

ค่าข้าวต่อมื้อ : 165 – 500 บาท อาหารการกินมีหลากหลายมาก ๆ ราคาค่าครองชีพก็อาจจะต่างกันไปแต่ละรัฐ ถ้ากินฟาสต์ฟู้ด ราคาต่อเซ็ตไม่แพง หรือใครจะซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตมาตุนไว้ก็ได้

  1. เรียนต่อเยอรมัน

ประเทศที่มีภูมิศาสตร์ดี มีธรรมชาติที่งดงาม แถมยังล้อมรอบไปด้วยประเทศอื่น ๆ ที่น่าไปเที่ยว การเดินทางสะดวกครอบคลุม ค่าเทอมถูก บางที่ค่าเทอมฟรี 100% แต่มีค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ราคาค่าบำรุงต่อปีราคาไม่แรงไม่เท่าไหร่ เริ่มต้นที่หลักหมื่นนิด ๆ แทบจะพอกับที่ไทย มหาวิทยาลัยคุณภาพ มาตรฐานสูง โดดเด่นด้านวิศวะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และงานวิจัย ถ้าใครที่ไม่เคยเรียนภาษาเยอรมันมาก่อนก็สามารถเลือกเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษได้ ส่วนใครที่ไม่มีพื้นฐานแต่อยากเรียน ก็ลงเรียนปรับพื้นฐานภาษาเยอรมันก่อน 1 ปี ใครจบไม่ตรงสายก็ยื่นเกรดต่อ MBA ได้ ถ้าเรียนป.ตรีหลักสูตรนานาชาติที่ไทย สามารถยื่นต่อป.โทได้เลย มีทุน DAAD จากรัฐบาล และทุนอื่น ๆ อีกหลากหลาย ที่ให้กระทั่งค่าขนมรายเดือน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ค่ะ

ค่าวีซ่า : ราวๆ 2,815 บาท (ถ้าหากได้ทุนจะยกเว้นค่าวีซ่า)

Bank Statement : คำนวนจากค่าใช้จ่าย 1 ปีที่จำเป็นต้องจ่าย และจำเป็นต้องมีเงินเพื่อเปิด Blocked Account ที่เยอรมัน ประมาณ 193,985 – 384,215 บาท เป็นบัญชีที่ถอนแบบจำกัดวงเงินต่อเดือน

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 11,260 – 484,210 บาท

ปริญญาโท : 15,015 – 37,535 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 240,790 – 391,350 บาท ราคาค่าที่พักแตกต่างไปตามพื้นที่

ค่าข้าวต่อมื้อ : 80 – 375 บาท ราคาอาหารข้างนอกมหาวิทยาลัยค่อนข้างสูง ซื้อในโรงอาหารมหาวิทยาลัย หรือทำอาหารกินเองจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

  1. เรียนต่อออสเตรเลีย

ประเทศยอดฮิตที่คนไทยไปเรียนต่อต่างประเทศเยอะ มีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดระดับโลกถึง 7 แห่ง เมืองยอดนิยมก็ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ธ และบริสเบน เศรษฐกิจค่อนข้างดีและมั่นคง สามารถทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยได้แบบถูกกฎหมาย ค่าแรงสูง ค่าครองชีพสมเหตุสมผลกับค่าแรง ที่สำคัญของแบรนด์เนมราคาเอื้อมถึง สำหรับน้อง ๆ ที่จบ ม.6 สามารถเรียนปรับพื้นฐานภาษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยมหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมไม่แพงมากเป็นหลักสูตร วิชาชีพของมหาวิทยาลัย TAFE New South Wales ที่ค่าเทอมเฉลี่ยอยู่ที่ 3 แสนกว่าบาทต่อปี น้อง ๆ ที่จบม.6 มหาวิทยาลัยนี้ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจค่ะ

ค่าวีซ่า : ประมาณ 14,835 บาท

Bank Statement : คำนวนจากค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพ ครอบคลุมค่าใช้จ่าย 12 เดือน ขั้นต่ำ $21,041 หรือประมาณ 551,230 บาท ใช้หลักฐานเป็นยอดเงินในบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 370,835 – 1,507,265 บาท

ปริญญาโท : 622,045 – 1,069,440 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 91,870 – 526,345 บาท มีที่พักหลากหลายแบบ ทั้งโฮสเทล เกสต์เฮ้าส์ หอพักมหาวิทยาลัย เช่าห้องเอง ราคาก็หลากหลายไปตามชนิดของห้องพัก ถ้าหารกับเพื่อนจะราคาถูกลงค่ะ

ค่าข้าวต่อมื้อ : 190 – 600 บาท ราคาอาหารค่อนข้างแพง ถ้าทำกับข้าวกินเอง ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

  1. เรียนต่อนิวซีแลนด์

ประเทศแห่งความสงบสุข ธรรมชาติสวยงาม อากาศดี ระบบขนส่งสารธารณะเริ่ด! และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยดังระดับโลก มากมาย อาทิเช่น มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ มหาวิทยาลัยแมสซี่ มหาวิทยาลัยลินคอร์น มหาวิทยาลัยโอทาโก อีกทั้งหลักสูตรการเรียนการสอน เกี่ยวกับมีเดีย เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ค่าเทอมไม่แพง อย่างคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊คแลนด์ ราคาเฉลี่ยต่อหลักสูตร แค่ประมาณ 373,847 บาทต่อปีเท่านั้นเอง แต่สำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งจบม.6 อาจจะต้องเรียนปรับพื้นฐานก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อ ป.โทที่ต้องใช้ห้องแลบหรือสายการแพทย์ ค่าเทอมจะสูงกว่าสายธรรมดา

ค่าวีซ่า : NZ$520 หรือประมาณ 12,137 บาท

Bank Statement : ค่าครองชีพครอบคลุมค่าใช้จ่าย 1 ปี ขั้นต่ำ NZ$15,000 หรือประมาณ 390,960 บาท ใช้หลักฐานเป็นยอดเงินในบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 459,950 – 1,724,820 บาท

ปริญญาโท : 507,785 – 852,750 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 429,135 – 837,850 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่ มีให้เลือกหลากหลายทั้งหอพักในมหาวิทยาลัย โฮมสเตย์ บ้านเช่า อพาร์ตเม้นต์

ค่าข้าวต่อมื้อ : 250 – 390 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่

  1. เรียนต่อเกาหลี

ใครที่อยากอยู่แถบเอเชีย เพราะไม่ต้องเดินทางไกล และอยากเรียนภาษาที่สามควบคู่ไปด้วย ประเทศเกาหลีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลาย ๆ คนอยากไปเรียน ยิ่งใครที่ชื่นชอบไอดอล ติ่งซีรีส์ และชอบอาหารเกาหลีแล้ว บอกเลยว่าฟินมาก! แถมยังฟรีค่าวีซ่าอีกด้วย ทุนรัฐบาลเกาหลีก็มีแบบให้เปล่า รวมถึงค่าเครื่องบิน ค่าตั้งรกราก ค่าประกัน ยันค่าขนม แทบจะไม่ต้องเสียเงินซักบาท ค่าเทอมที่ถูกที่สุดเป็นคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยอนเซ มหาวิทยาลัยปูซาน และมหาวิทยาลัยคยองซัง สำหรับสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็เช่น KAIST, GIST, UNIST, DGIST ค่ะ

ค่าวีซ่า : ฟรี ขอวีซ่าประเภท D-2 สำหรับนักเรียนป.ตรี โท เอก

Bank Statement : คำนวนจากค่าเทอมและรายจ่ายที่ครอบคลุมประมาณ 1 ปี ขั้นต่ำ 327,500 บาท ยอดเงินในบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน แต่ถ้าขอทุนจากรัฐบาลเกาหลีไม่จำเป็นต้องใช้

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 69,585 – 222,670 บาท

ปริญญาโท : 94,635 – 261,640 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 44,000 – 144,000 บาท ราคาที่พักข้างนอกค่อนข้างสูงและพื้นที่แคบ

ค่าข้าวต่อมื้อ : 200 – 600 บาท ค่าข้าวต่อมื้อราคาสูง แต่มีเครื่องเคียงให้ เติมฟรีได้ตลอด อิ่มไปได้หลายมื้อ

  1. เรียนต่อจีน

ใกล้เข้ามาอีกนิด กับประเทศแถบเอเชียเหมือนกัน รวมมิตรมหาวิทยาลัยดัง ๆ แต่ค่าใช้จ่ายเซฟกว่า บางที่ค่าเทอมถูกกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย แถมบางเมืองค่าครองชีพพอ ๆ กับที่ประเทศไทยเลย นอกจากนี้ จีนเป็นประเทศใหญ่ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน ใครอยากได้ภาษาจีนแบบแน่น ๆ เน้น ๆ แล้วนำไปต่อยอดต้องไม่พลาด! สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษก็มี แต่หลักสูตรภาษาจีนจะหลากหลายมากกว่า มหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมถูกก็เช่น มหาวิทยาลัยเจิ้งโจว สายภาษา ที่ค่าเทอมไม่แพงมาก และมหาวิทยาลัยรัฐอื่น ๆ สายวิทยาศาสตร์ สายเทคโนโลยีก็ค่าเทอมไม่แพงเช่นกัน ข้อเสียเดียวคือ โซเชี่ยลมีเดียของบ้านเขาไม่เหมือนบ้านเรา ใครจะดูยูทูปหรืออื่น ๆ อาจจะต้องมุด VPN กันสักหน่อย

ค่าวีซ่า : 4,500 บาท ใช้เวลา 4 วันในการขอ

Bank Statement : มียอดเงินไม่ต่ำกว่า 50,000 บาทในบัญชี ใช้ย้อนหลัง 6 เดือน

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 59,000 – 266,830 บาท

ปริญญาโท : 92,365 – 307,880 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 36,960 – 92,400 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่ หอพักในมหาวิทยาลัยสะดวกสบายกว่าหอพักข้างนอก

ค่าข้าวต่อมื้อ : 30 – 130 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่ ราคาไม่แพงมาก แถมถูกปากคนไทย

  1. เรียนต่อฝรั่งเศส

ประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เมืองแห่งวัฒนธรรม ศิลปะ น้ำหอม แฟชั่น หนัง และของอร่อย อากาศก็ดี สถานที่ท่องเที่ยวก็เยอะ แถมเดินทางสะดวก ว่าง ๆ ก็ไปเดินเล่น เสพงานศิลป์ เหมาะสำหรับคนที่รู้ภาษาฝรั่งเศสอยู่แล้ว หรือถ้าใครไม่มีพื้นฐานทางด้านภาษาก็สามารถมาเรียนภาษาฝรั่งเศสก่อน 1 ปี ระดับภาษาขั้นต่ำที่สามารถสมัครเรียนได้คือ B2 ในระหว่างเรียนภาษาสามารถทำพาร์ทไทม์ได้ มหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมถูกที่สุดและติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในฝรั่งเศส ได้แก่ มหาวิทยาลัยปารีส, มหาวิทยาลัย Claude Bernard,มหาวิทยาลัย Joseph Fourier ที่ค่าเทอมเฉลี่ยต่อปีถูกที่สุด แค่ปีละ 7 พันกว่าบาทเท่านั้น!

ค่าวีซ่า : 3,626 บาท วีซ่าระยะยาว มากกว่า 90 วัน

Bank Statement : 613,500 บาท คำนวนจากค่าใช้จ่าย 1 ปี ขั้นต่ำ 615 ยูโรต่อเดือน และค่าเครื่องบินไปกลับ คูณ 1.5-2 เท่า เพื่อให้วีซ่าผ่านได้ง่ายขึ้น

ค่าเทอม/ปี :

ปริญญาตรี : 7,135 – 225,335 บาท

ปริญญาโท : 9,390 – 141,585 บาท

ค่าหอพัก/ปี : 5,635 – 50,325 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่ ถ้าอยู่กับโฮสต์แฟมิลี่จะราคาถูกลง

ค่าข้าวต่อมื้อ : 150 – 375 บาท ราคาแตกต่างกันตามพื้นที่ ร้านอาหารในมหาวิทยาลัยจะมีราคาถูกกว่าข้างนอก 

สำหรับใครที่อยากเตรียมเงินเรียนต่อ ก็ลองเก็บเงินและเตรียมตัวกันตั้งแต่ตอนนี้ได้เลยค่ะ นอกจากเก็บเงินแล้ว ผลสอบวัดระดับภาษาและเกรดก็สำคัญเช่นกัน ค่อย ๆ เตรียมตัวไปทีละอย่าง จะต้องสำเร็จแน่นอนค่ะ ส่วนทุนให้เปล่าและเงื่อนไขในการทำงานก็อาจจะแตกต่างกันไป อาจจะต้องสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ช่วงนี้มีเรื่องของ COVID-19 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาจจะต้องดูเงื่อนไขเรื่องวัคซีนที่อนุญาติให้เข้าประเทศและเงื่อนไขการกักตัวเพิ่มเติมด้วย ขอให้น้อง ๆ ที่อยากไปเรียนต่อเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สมหวังกันทุกคนค่ะ 

คำถามยอดฮิต Bank Guarantee กับ Statement ต่างกันยังไง ?

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่น้องๆ หลายคนสงสัย สำหรับเอกสารด้านการเงินที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่าไปเรียนภาษาที่ต่างประเทศ ระหว่าง Bank Guarantee และ Statement ว่าคืออะไร ? เหมือนกันมั้ย ? ใช้แทนกันได้หรือเปล่า ? วันนี้ยูพลัสมีคำตอบมาให้จ้า

Bank Guarantee   คือ หนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร เป็นหลักประกันทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งออกโดยธนาคาร โดยเอกสารตัวนี้ จะแสดงยอดเงินคงเหลือในบัญชี ว่ามีอยู่จำนวนเท่าไหร่เท่านั้น ไม่ได้มีการแสดงรายการเดินบัญชีหรือการเข้า-ออกของเงินในบัญชีนั้นๆ ซึ่งในการขอเอกสารตัวนี้มาประกอบการยื่นขอวีซ่า statement ในเอกสารจะต้องมีการแปลงค่าเงินเป็นสกุลตามประเทศที่สมัครไปเรียน

Statement   คือ รายการเดินบัญชีหรือข้อมูลการเคลื่อนไหวของเงินภายในบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน โดยในการใช้สเตทเม้นต์ประกอบการพิจารณาในการยื่น ขอวีซ่า statement นี้ จะต้องขอการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

ซึ่งการยื่นเอกสาร 2 ส่วนนี้ ประกอบการยื่นขอวีซ่า เป็นการแสดงหลักฐานทางการเงินที่ออกโดยธนาคาร เพื่อทางสถานทูตจะใช้ในการวิเคราะห์ความมั่นคงทางการเงินของผู้ซัพพอร์ทหรือของตัวผู้เรียนเอง ว่ามีที่มาทางการเงินตามที่ระบุไปในจดหมาย ขอวีซ่า statement และมียอดเงินคงเหลือเพียงพอและครอบคลุมค่ากินอยู่ระหว่างไปเรียนต่างประเทศตามระยะเวลาที่นักเรียนได้ลงเรียนไว้หรือไม่นั่นเอง

โดยตัวเอกสารทั้ง Bank Guarantee และ Statement นี้ จะมีอายุ 28 วัน หลังจากวันที่ออกเอกสาร ดังนั้นในการจัดเตรียมเอกสารส่วนนี้ให้กับทางพี่ๆ ยูพลัส จึงแนะนำให้น้องๆ รอคอนเฟิร์มช่วงเวลาที่จะไปดำเนินการขอเอกสารกับทางพี่ๆ ผู้ดูแลเคสก่อน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการไปดำเนินการเอกสารกันหลายรอบนะ

ทั้งนี้น้องๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารด้านการเงินและ Bank Statement ในการยื่นวีซ่าของประเทศที่น้องๆ สนใจกับทางยูพลัสได้เลย เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้แนะนำปรึกษาในการวางแพลนการเรียนและเตรียมตัวยื่นวีซ่าทุกขั้นตอน ดูแลติดตามแบบอุ่นใจหายห่วงเลย

ขอวีซ่าเรียนต่อไม่ผ่าน ขอวีซ่าทำงานไม่ผ่าน ทำไงดี?

 

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง