non b visa

มารู้จักวีซ่า NON-IMMIGRANT “B”(non b visa) วีซ่าธุรกิจสำหรับต่างชาติ กันเถอะ!

 

ปัจจุบันการขอวีซ่าสามารถแบ่งประเภทออกได้ทั้งหมดเป็น  7 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ วีซ่าสำหรับพำนักในระยะยาว (Long Stay O-A , O-X), วีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa), วีซ่าสำหรับคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร หรือวีซ่าสำหรับการใช้ต่อเครื่องบิน (Transit Visa), วีซ่าประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa), วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ (Official Visa), วีซ่าเจ้าหน้าที่ทางการทูต (Diplomatic Visa) และวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ซึ่งวีซ่าแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ตามความต้องการในการเดินทางเข้ามายังในประเทศนั้น ๆ เช่น ถ้าหากต้องการเดินทางท่องเที่ยว ก็สามารถเลือกขอเป็นวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) เป็นต้น

และสำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อการทำงาน เข้าร่วมประชุม หรือติดต่อธุรกิจแบบชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง จะต้องทำการขอวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B เพื่อทำงาน ติอต่อธุรกิจ หรือประชุม หรือที่เรียกว่า NON-IMMIGRANT “B” เพื่อให้สามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวได้อย่างถูกกฎหมาย โดยสามารถยื่นเรื่องขอดำเนินการเอกสารเพื่อทำวีซ่าได้ยังหน่วยงานที่รับทำวีซ่าธุรกิจ visa non-b หรือบริษัทที่รับทำวีซ่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดเกี่ยวดังนี้

 

non b visa

วีซ่า  NON-IMMIGRANT “B” หรือ non b visa คืออะไร

อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกับวีซ่าแบบ NON-IMMIGRANT “B” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วีซ่า non b visa กันก่อนว่าคืออะไร เพื่อที่จะได้เลือกประเภทการทำวีซ่าได้อย่างถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งวีซ่า NON-IMMIGRANT “B” นั้นคือวีซ่าสำหรับคนอยู่ชั่วคราวประเภท B  เป็นวีซ่าที่ออกให้กับต่างชาติที่มีความประสงค์จะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อการทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือการเข้าร่วมประชุมภายในประเทศไทย โดยสามารถใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง โดยหากมีความประสงค์จะอยู่นานกว่า 90 วัน สามารถต่ออายุเป็น 1 ปีได้ก่อนวีซ่าหมดอายุ 30 วัน

ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทยนอกจาก non b visa แล้ว ใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน ต่างชาติต้องใช้ทั้งสองเอกสารนี้ควบคู่กันเพื่อทำงาน, ติดต่อธุรกิจ, หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

วีซ่า Non-B เหมาะสำหรับใคร?

ที่นี้มาดูกันว่า ใครบ้างที่ต้องใช้วีซ่าประเภทนี้ โดยทางกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กได้มีการกำหนดให้ชาวต่างด้าวที่ต้องการขอวีซ่า  non b visa จะต้องมีคุณสมบัติหรือวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (F)
  • การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (B)
  • การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (IM)
  • การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (IB)
  • การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (ED)
  • การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (M)
  • การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (R)
  • การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (RS)
  • การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (EX)

นอกจากนี้ยังสามารถขอวีซ่า  NON-IMMIGRANT “B” เพื่อการอื่น (O) ได้แก่

  • การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ
  • การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี
  • การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคล ดังกล่าว
  • การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกันกับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ
  • การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
  • การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ
  • การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
  • การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล
  • การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ

สำหรับคนจีนและชาวต่างชาติที่สนใจเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ยังไม่เคยทำ Visa Non-B มาก่อน
Wonderful Package ขอแนะนำขั้นตอนและเอกสารที่ต้องจัดเตรียมก่อนการยื่น non b visa ตามนี้นะคะ

Visa Non-B หรือ Non-Immigration Visa Business เป็นประเภทใบอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงาน

ผู้ขอ Visa Non-B มีอยู่ 3 กรณีค่ะ

  1. กรณีที่ยังไม่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย หรือวีซ่าหมดอายุ ให้ดำเนินการขอ Visa NON-B ที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ โดยตรวจสอบการเตรียมเอกสารได้ที่สถานกงสุลประเทศนั้นๆ (ขึ้นอยู่กับประเทศที่ขอ)
  2. กรณีที่มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) วีซ่าผ่านทาง (Transit Visa) หรือวีซ่าอื่นๆ ให้ดำเนินการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น Visa NON-B ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ
  3. กรณีที่มี Visa Non-B อยู่แล้ว แต่อายุวีซ่าใกล้หมด ให้ดำเนินการต่อวีซ่าเพิ่ม ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ

เอกสารประกอบการขอ Visa Non-B / ขอต่อ Visa Non-B / ขอเปลี่ยนประเภท Visa เป็น Visa Non-B มีอะไรบ้าง

  1. แบบฟอร์ม ตม.86 (กรณีเปลี่ยนประเภท Visa เป็น Non-B) หรือ ตม.87 (กรณีต่อ Visa Non-B) หรือแบบฟอร์มของสถานกงสุล ในประเทศนั้นๆ
  2. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  3. หนังสือเดินทาง อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
  4. หนังสือรับรองจากกระทรวงแรงงาน แจ้งผลอนุญาตให้ทำงาน
  5. ใบอนุญาตการทำงาน และ Visa Non-B ล่าสุด (กรณีต่อ Visa Non-B)
  6. ภ.ง.ด.91 ของคนต่างชาติ
  7. เอกสารสำคัญของบริษัทที่จ้างงาน

ผู้ขอ Visa Non-B ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร?

  • ชาวต่างชาติ ต้องมีใบอนุญาตทำงาน
  • ชาวต่างชาติ ต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัท ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • บริษัท ต้องมีความมั่นคงทางธุรกิจ และต้องมีการประกอบการจริงและต่อเนื่อง
  • บริษัท ต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน

ค่าธรรมเนียมในการทำ Visa Non-B มี 2 แบบ แล้วแต่ความต้องการของผู้ขอเลยค่ะ

  1. Single Entry (เข้าได้ครั้งเดียว) ราคา 2,000 บาทเป็นต้นไป
  2. Multiple Entry (เข้าได้หลายครั้ง) ราคา 5,000 บาทเป็นต้นไป

ระยะเวลาที่รอ Visa Non-B ประมาณ 1 เดือน ส่วนอายุวีซ่าที่จะได้ขึ้นอยู่กับทางสถานกงสุล หรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิจารณา มีทั้ง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี
แต่สำหรับมือใหม่ ได้อยู่ประมาณ 3-6 เดือนนะจ้ะ ซึ่งหากไม่ได้ทำ Re-Entry เมื่อเดินทางออกนอกประเทศและกลับเข้ามาในไทยจะมีผลทำให้วีซ่า Non-B ที่ทำไว้สิ้นสภาพทันทีและต้องกลับไปเริ่มต้นในกระบวนการขอวีซ่าใหม่

สรุป

ดังนั้นสำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์ทำงานในประเทศไทย อันดับแรกคือจำเป็นที่จะต้องมีวีซ่า Non-B กันเสียก่อนเพื่อเป็นใบเบิกทางสำหรับการเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งการขอก็จะทำได้ 2 วิธีข้างต้นที่กล่าวมา คือการขอจากนอกประเทศเข้ามาและการเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวหรือ ผ30 จากนั้นมาเปลี่ยนเป็น Non-B ในไทย อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรระวังคือ เมื่อได้วีซ่าแล้วเราแนะนำให้ทำ Multiple Re-Entry เพื่อใช้สำหรับกรณีที่ต่างชาติต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทย โดย Multiple Re-Entry จะป้องกันการสิ้นสภาพของวีซ่า Non-B ในกรณีดังกล่าว

นอกเหนือไปจากขอวีซ่า Non-B แล้ว ชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยก็จะต้องมีเอกสารเป็นใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือ Work Permit ควบคู่กันไปด้วย ถึงจะสามารถทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสามารถดูรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศหรือเลือกใช้บริการกับบริษัทฯ หรือหน่วยงานที่รับทำวีซ่าอย่างถูกกฎหมาย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกสบายให้กับธุรกิจของคุณซึ่งที่ RLC Outsourcing ของเรามีบริการรับทำวีซ่าต่าง ๆ รวมไปถึงการรับทำวีซ่าธุรกิจ visa non-b ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ non b visa เป็นเพียงแค่ใบเบิกทางอันดับแรกที่จะให้ชาวต่างชาติจากหลายๆ ประเทศ สามารถเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยเพื่อทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือ Work Permit ที่จะต้องใช้ควบคู่กันระหว่างทำงานอยู่ในประเทศไทย

non b visa

Q : ผู้ขอ Visa Non-B ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร?

A : 1.ชาวต่างชาติ ต้องมีบริษัทนายจ้าง โดยได้ทำสัญญาจ้างแล้ว และได้เงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
2.บริษัท ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
3.บริษัท ต้องมีความมั่นคงทางธุรกิจ และต้องมีการประกอบการจริงและต่อเนื่อง
4.บริษัท ต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
5.ชาวต่างชาติ ต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigration)

Q : คนต่างชาติได้ขอวีซ่า ประเภท  Non-Immigrant  Type “B” เพื่อเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่มี Work Permit จะต้องดำเนินการอย่างไร

A : แนะนำให้ติดต่อขอคำแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการทำงานของคนต่างชาติ
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.doe.go.th หรือสอบถามข้อมูลบริการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน กับเจ้าหน้าที่ Wonderful Package

Q : สามารถยื่นเรื่องขออยู่ต่อ หรือต่ออายุวีซ่าทำงาน (Non-B Visa Extension) ได้ก่อนวีซ่าหมดอายุกี่วัน?

A : ในการขอต่ออายุวีซ่าทำงานครั้งแรก เจ้าหน้าที่จะพิจารณาวีซ่าอยู่ในประเทศไทยได้ 30 วัน เพื่อรอการพิจารณาอนุมัติวีซ่าทำงานเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้นเมื่อใกล้ครบกำหนดการอนุญาต 30 วัน ให้นำหนังสือเดินทางไปฟังผลการพิจารณาอีกครั้ง ถ้าผลการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วท่านจะได้รับวีซ่าทำงาน 1 ปี แต่หากผลการพิจารณายังไม่เสร็จ เจ้าหน้าที่ก็จะต่อวีซ่าให้อีก 30 วัน จนกว่าผลการพิจารณาจะเสร็จสิ้น

Q : ชาวต่างชาติถือวีซ่า Covid สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่า Non-B และขอ Work permit ได้หรือไม่?

A : สามารถทำได้สำหรับ ผู้ที่ถือวีซ่าเดิมในบางประเภท เช่น TR, Non-B ทั้งนี้ ต้องขอดูเอกสารวีซ่าเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นวีซ่า Covid ของชาวต่างชาติ ว่าเป็นวีซ่าประเภทใด จากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะประเมินให้ว่าจะต้องทำแบบใดและค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

Q : ชาวต่างชาติที่มีวีซ่า Non-Immigrant เข้ามาติดตั้งเครื่องจักรในประเทศไทย ถ้างานยังไม่เสร็จภายในกำหนดวีซ่าต้องทำอย่างไร?

A : สามารถยื่นขออยู่ต่อได้ โดยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Q : หากทำการยื่นต่อวีซ่าไว้แล้ว มีการนัดฟังผลวีซ่าต้องมาฟังด้วยตนเองหรือไม่ ?

A : ไม่จำเป็น กรณีที่ยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรและเจ้าหน้าที่นัดให้มาฟังผลการพิจารณาชาวต่างชาติอาจมาด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นนำหนังสือเดินทางมาดำเนินการแทนได้

Q : กรณีชาวต่างชาติทำงานสถานทูต ในประเทศไทย หากต้องการขออยู่ต่อ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

A : แยกออกเป็น 2 กรณี
1. กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิตาม ม.15 ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้
1.1 สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องขอ
1.2 หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
2. กรณีเป็นบุคคลต่างด้าวยื่นคำขอตาม ม.35 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้เอกสาร ดังนี้
2.1 ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
2.2 แบบคำขอ
2.3 สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องขอ
2.4 หนังสือรับรองและขออนุญาตให้อยู่ต่อจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า”

Q : หากชาวต่างชาติเข้ามาไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ด้วย ผ.45 แล้วอยู่ Over stay จะเปลี่ยนประเภทวีซ่า เป็นวีซ่า Non-B ได้หรือไม?

A : ปกติจะไม่สามารถทำได้ต้องเดินทางออกนอกประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถส่งเอกสารมาให้เจ้าหน้าพิจารณาเบื้องต้นก่อนได้

Q : กรณีที่ชาวต่างชาติที่มีความประสงค์จะเดินทางเข้าออกประเทศไทยมากกว่า 1 ครั้ง ควรต้องทำอย่างไร?

A : ควรต่อวีซ่าแบบ Multiple-entry(เข้า-ออก ประเทศได้หลายครั้ง เหมาะกับอายุวีซ่ามากกว่า 3 เดือน) เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปทำ Re-entry Permit ก่อนออกนอกประเทศ

Q : ชาวต่างชาติที่ขอ Visa Non-B ได้ มีกี่กรณีที่สามารถขอได้ และทำอย่างไร?

A : 1.กรณีที่ยังไม่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย หรือวีซ่าหมดอายุ ให้ดำเนินการขอ Visa NON-B ที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ โดยตรวจสอบการเตรียมเอกสารได้ที่สถานกงสุลประเทศนั้นๆ (ขึ้นอยู่กับประเทศที่ขอ)
2.กรณีที่มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) วีซ่าผ่านทาง (Transit Visa) หรือวีซ่าอื่นๆ ให้ดำเนินการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น Visa NON-B ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ
3.กรณีที่มี Visa Non-B อยู่แล้ว แต่อายุวีซ่าใกล้หมด ให้ดำเนินการต่อวีซ่าเพิ่ม ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ

Q : หากชาวต่างชาติมี Visa Non-B แต่ไม่มี Work Permit สามารถทำงานในประเทศไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?

A : ไม่สามารถทำงานได้ เพราะจะต้องมี Work Permit หรือใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยก่อนจึงจะสามารถทำงานได้
มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ถาม MESUB TRAVEL เลยค่ะ เจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาตลอดเวลา!!

บริการยื่นวีซ่า ต่อวีซ่า ง่ายๆ กับ MESUB TRAVEL สะดวก รวดเร็ว ทีมงานของเรายินดีดูแลเป็นอย่างดี ด้วยประสบการณ์ในวงการมากกว่าหลายสิบปี การันตีด้วยลูกค้ามากมาย

เปิดให้บริการ: จันทร์ – ศุกร์ 09.30-18.00

ออนไลน์ 09.30-18.00 (ทุกวัน)

LINE Official: @mesubtravel

TEL: ไทย 09-5653-8299, 083-468-5325

ENG 09-2966-9045

中文 08-1009-0558

FB Page: MESUB visa&travel บริการด้านวีซ่าครบวงจร

Email: mesubvisa@gmail.com

 

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง