ต่อวีซ่า

การต่อวีซ่า หรือขอเปลี่ยนประเภท VISA เพื่อการทำงาน
เรียนต่อ และขออยู่ต่อเพื่อท่องเที่ยว ทำยังไง?

 

สำหรับการต่อวีซ่านั้น ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเมืองไทยมักจะติดใจอยากอยู่เที่ยวต่อ เพราะถูกใจสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่หลากหลาย ธรรมชาติที่สวยงาม ความเป็นมิตรของคนไทย อาหารไทยอร่อยมีเอกลักษณ์ มีกิจกรรมให้เลือกทำมากมาย ฯลฯ ซึ่งการให้เวลาเที่ยวในเมืองไทยเพียง 60 วัน อาจจะไม่พอสำหรับบางคน mesubtravel จึงขอแนะนำการต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อให้อยู่เที่ยวต่อได้อีก 30 วัน ขยายความสุขให้กับนักท่องเที่ยวที่อยากจะอยู่ต่อโดยเฉพาะค่ะ

 

ต่อวีซ่า

ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องมีวีซ่าประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa หรือ TR Visa)

  1. ผู้ขอจะต้องยื่นขอใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวหรือวีซ่าท่องเที่ยว จากสถานเอกอัครราชฑูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่เท่านั้น
  2. การขอวีซ่าท่องเที่ยวครั้งแรก ผู้ขอยื่นจะได้รับวีซ่าเข้าครั้งเดียว (Single Entry) มีอายุวีซ่า 3 เดือน และมีระยะเวลาพำนัก 60 วัน/ครั้ง ประทับตราขาเข้าโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย
  3.  เมื่อวีซ่าท่องเที่ยวใกล้จะหมดอายุ ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอต่ออายุวีซ่าได้ 1 ครั้ง (Tourist Visa หรือ TR Visa Extension) เป็นการขอต่อใบอนุญาตเพื่ออยู่ท่องเที่ยวต่อในประเทศไทย โดยที่วีซ่าเดิมยังไม่หมดอายุ
  4.  การขอต่อวีซ่าครั้งแรก ผู้ขอยื่นจะได้รับการขยายวีซ่าให้สูงสุด 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตเดิมสิ้นสุด ยกเว้นประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล อิหร่าน ไนจีเรีย โตโก ยูกันดา จะได้รับการขยายวีซ่าเพียง 7 วันเท่านั้น

*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย*

– ในการ ต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa Extension) ประเภทนี้ จะต่ออายุให้แก่คนต่างด้าว หรือ คนต่างชาติ ที่ประสงค์อยู่ในประเทศไทยต่อ และวีซ่าท่องเที่ยวใกล้หมดอายุ เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องดำเนินการยื่นต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว ล่วงหน้าก่อนหมดอายุ 30 วันทำการ

– เมื่อยื่น ขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa / TR Visa) จะได้รับอายุวีซ่าท่องเที่ยว พำนักอยู่ต่อในประเทศไทยเพิ่มอีกไม่เกิน 30 วัน เพิ่มจากที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กำหนดให้ครั้งละ 60 วัน (รวมเวลาพำนักในประเทศไทยทั้งหมด สูงสุด 90 วัน)

– กรณีการยื่นขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด บริษัทฯยินดีคืนเงินหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

 

ต่อวีซ่าท่องเที่ยว

การต่อวีซ่าท่องเที่ยวในประเทศไทย (Tourist Visa or TR Visa Extension in Thailand)

การขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa / TR Visa) เป็นการขอต่อใบอนุญาตเพื่อขออยู่ท่องเที่ยวต่อในประเทศไทยของชาวต่างชาติ โดยการขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa / TR Visa) จะได้รับอายุวีซ่าอยู่ต่อไม่เกิน 30 วัน (นับตั้งแต่วันอนุญาตเดิมสิ้นสุด, และรวมอายุวีซ่าแล้วไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่เดินทางเข้า) ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ในระหว่างที่รอผลพิจารณาสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยไปพลางๆก่อนได้ ทั้งนี้การยื่นขอต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa / TR Visa) จะต้องยื่นล่วงหน้าก่อนวีซ่าเดิมจะหมดอายุอย่างน้อย 30 วันโดยที่วีซ่าเดิมยังไม่หมดอายุ

หลักเกณฑ์การพิจารณาขอต่อวีซ่าประเภทท่องเที่ยวในไทย (Tourist Visa หรือ TR Visa)

1. สำหรับคนไม่ได้ถือสัญชาติไทย ต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว
2. ต้องไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำพวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด
(กรณีเป็นบุคคลสัญชาติศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน เนปาล โตโก ไนจีเรียและยูกันดา จะได้รับให้อยู่ในราขอาณาจักรได้ไม่เกิน 7 วัน)

เอกสารประกอบการยื่นขอต่อวีซ่าท่องเที่ยว มีอะไรบ้าง?

1. แบบคำขอ ตม.7
2. รูปถ่าย ขนาด 4X6 ซม. จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
3. หนังสือเดินทาง อายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
4.สำเนาหนังสือเดินทาง วีซ่า ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

เอกสารเฉพาะกรณี สามารถตรวจสอบได้จากตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ

 ลำดับ  

กรณีเฉพาะ

เอกสารที่ต้องเตรียม

  1 เจ็บป่วย 1. แบบฟอร์ม ตม.7
2. สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3. หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์
2 ดูแลผู้ป่วย 1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา ระบุความสัมพันธ์กับผู้ป่วย หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์จากสถานทูต หรือสถานกงสุล
3 เยี่ยมญาติ กลับภูมิลำเนาของ ผู้เคยมีสัญชาติไทยหรือบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย 1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานแสดงว่าเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
4 เยี่ยมคู่สมรส หรือบุตรมีมีสัญชาติไทย 1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์
(กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางกฎหมาย และพฤตินัย)
5 เพื่อดำเนินคดีหรือพิจารณาเกี่ยวกับคดี 1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีโดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลยหรือพยาน
6 ปฏิบัติหน้าที่ให้ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ สถานฑูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ 1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรองหรือร้องขอ จากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้า
4.รัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการ หรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ                        กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป          ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
7 เหตุจำเป็นโดยมีสถานฑูต
สถานกงสุล รับรองและร้องขอ
1.แบบฟอร์ม ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรอง หรือร้องขอจากสถานฑูต หรือสถานกงสุล

แล้วจะยื่นขอต่อวีซ่าได้ที่ไหน?

สถานที่ยื่นคำร้องขอต่อวีซ่า (ทุกประเภท) อยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ในกรณีหากท่านไม่สะดวกที่จะเดินทางไปต่อวีซ่าด้วยตัวเอง สามารถติดต่อขอคำแนะนำการต่อวีซ่าที่ mesubtravel

สำหรับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19)

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยโดยการออกวีซ่าประเภทพิเศษ ตามข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คือ Special Tourist VISA (STV) สำหรับผู้ที่มาพำนักระยะยาว (long stay) ในไทย ซึ่งโครงการนี้จะมีผลไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2564 หรือเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โดยนักท่องเที่ยวที่ขอรับวีซ่า (VISA) ประเภทนี้จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทย 90 วัน และยังต่ออายุ ได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 90 วัน รวมระยะเวลาพำนักอยู่ในไทยสูงสุด 270 วัน

เงื่อนไขในการยื่นขอวีซ่า STV

  • ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทยที่ประสงค์จะเดินทางพำนักระยะยาว (Long Stay) ภายในไทย
    ยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทยและตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน (ALSQ)
  • มีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย (Long Stay) ได้แก่ หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก (ALSQ) หรือ โรงพยาบาลที่พัก (AHQ) ภายในประเทศ หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    1. หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก ที่จะใช้เป็นที่พักหลังจากออกจากโรงแรมที่พักที่เป็นสถานที่กักตัว (ALSQ) หรือโรงพยาบาลที่พัก (AHQ)
    2. หลักฐานสำเนาโฉนดห้องชุดของที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลตที่ยื่นขอวีซ่า STV หรือบุคคลในครอบครัว
    3. หลักฐานการเช่าที่พักประเภทคอนโดมิเนียมหรือบ้านพัก
    4. หลักฐานการชำระเงินดาวน์ของบุคคลต่างด้าวในการซื้อหรือเช่าที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม

เกร็ดความรู้ :
– เจ้าหน้าที่จะต่ออายุวีซ่าให้ตามข้อมูลเดิม เช่น วีซ่าท่องเที่ยวเดิมเป็นแบบ Single Entry (เข้าได้ครั้งเดียว) เจ้าหน้าที่จะต่อแบบ Single Entry ให้ค่ะ
– หากมีความจำเป็นต้องออกจากประเทศด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ต้องได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศ (Re-Entry) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่ใกล้ที่สุด หรือที่สนามบินนานาชาติที่จะเดินทางออกนอกประเทศ หากไม่มี Re-Entry วีซ่าจะถูกยกเลิก (ยกเว้น Multiple Entry)
– หากนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต จะถูกปรับวันละ 500 บาท
– หากผลพิจารณาไม่อนุญาตให้อยู่ต่อ ในทางปฏิบัติสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะให้อยู่ต่อได้อีก 7 วัน สำหรับการเตรียมตัวเดินทางออก
– ผู้ถือ Tourist Visa ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยตามกฎหมาย หากมีความประสงค์ที่จะทำงานจะต้องขอรับ Non-B Visa และต้องมีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น

 

ต่อวีซ่านักเรียน นักศึกษา

ต่ออายุวีซ่านักเรียน/นักศึกษาต่างชาติ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง??

สำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะยื่นขออนุญาตอาศัยอยู่ต่อในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องอยู่ เพื่อศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐ หรือเอกชน เชิญทางนี้จ้ะ Wonderful Package มีข้อแนะนำดีๆ มาฝากน้องๆ กันค่ะ

ควรต่ออายุวีซ่าเมื่อไหร่ดี?

การขอต่ออายุวีซ่าประเภทนี้ ควรยื่นล่วงหน้าก่อนอายุวีซ่าหมดอย่างน้อย 30 วัน โดยจะขอขยายเวลาการพักอาศัยเพื่อศึกษาได้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือตามวันที่ระบุขอไว้ในหนังสือนำ (ศธ.) จากสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในระหว่างที่รอผลพิจารณาสามารถอาศัยอยู่ประเทศไทยไปพลางๆ ก่อนได้

เอกสารประกอบการต่อวีซ่า มีอะไรบ้าง??

– แบบฟอร์ม ตม.7 (คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป)
– รูปถ่าย ขนาด 4X6 ซม. จำนวน 1 รูป
– หนังสือเดินทาง อายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน พร้อมสำเนา
– บัตรนักเรียน/นักศึกษา (หากเป็นนักวิจัยให้แนบบัตรนักวิจัยด้วย) ใบลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปัจจุบัน ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนเรียนล่าสุด (เฉพาะกรณีศึกษาต่อเต็มเวลา) พร้อมสำเนา
– หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร ผลการศึกษาที่ออกโดยสถาบันการศึกษา
– หนังสือนำ (ศธ.) เพื่อขอต่อวีซ่า ฉบับภาษาไทย จากหน่วยงานที่รับนักเรียน/นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการออกเอกสารให้
– หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่าหรือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบสถาน ศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติและ กรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)
– สำเนา หลักสูตรการเรียนและตารางเรียน (เฉพาะกรณีโรงเรียนนอกระบบ)
– สำเนา หลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
– หลักฐานการจดทะเบียนของสถาบันการศึกษานั้นฉบับนายทะเบียน รับรองอายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมสำเนา
– ใบอนุญาตสถาบันการศึกษาหรือทะเบียนธุรกิจ รายชื่อผู้ถือหุ้น และประวัติสถาบันการศึกษา พร้อมสำเนา
– สำเนา แผนที่สถาบันการศึกษา
– กรณีมีผู้ติดตามเป็นผู้ปกครองของนักเรียน/นักศึกษาต่างชาติ ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และลงทะเบียนศึกษาหลักสูตรระยะยาว สามารถขอรับวีซ่าประเภท Non-Immigrant O แบบ Single-Entry เพื่อติดตามบุตรได้ (หลักสูตรไม่ใช่การอบรมระยะสั้น หรือการเรียนภาษา/มวยไทย/ดำน้ำ)

ใครที่มีเพื่อนต่างชาติ และยังคงศึกษา หรือทำงานอยู่ในประเทศไทย อย่าลืมเตือนเพื่อนๆ ระวังวีซ่าหมดอายุกันนะคะ

หากมีข้อสงสัยอยากขอคำแนะนำ อย่าลังเลที่จะติดต่อ mesubtravel ได้เลยทันที ทางเรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาและบริการตลอดค่ะ

คำถามที่พบบ่อย

1. อัตราค่าธรรมเนียมในการต่อวีซ่า ราคากลางๆ เป็นอย่างไร ?

– โดยปกติอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการต่อวีซ่า ตม.7 ราคา 1,900 บาท และตม.8 สำหรับการเข้าเพียงครั้งเดียว (Single Re-entry) ราคา 1,000 บาท และสำหรับการเข้าหลายครั้ง (Multiple Re-entries) ราคา 3,800 บาท ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดติดต่อสอบถามหรือปรึกษาทีมงานได้

2. คนต่างชาติได้ขอวีซ่า ประเภท Non-Immigrant Type “B” เพื่อเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่มี Work Permit จะต้องดำเนินการอย่างไร?

– แนะนำให้ติดต่อขอคำแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการทำงานของคนต่างชาติ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก Website ==>www.doe.go.th ค่ะ

3. ภรรยาสามารถยื่นติดตามสามีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่?

– กรณีคู่สมรสจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ

4. การแจ้ง 90 วัน ถ้าแจ้งหลังครบกำหนดมีโทษหรือไม่ ?

– กรณีมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เอง มีโทษปรับ 2,000 บาท
หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะถูกปรับ 4,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับจากวันครบกำหนดจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง

5. การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน ให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้หรือไม่ อย่างไร ?

– สามารถให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง โดยนำหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และแบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งคนต่างด้าวลงลายมือชื่อไว้แล้ว พร้อมทั้งใบรับแจ้งครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

บริการต่อวีซ่าสำหรับทำงาน / นักเรียน / นักศึกษา และนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างชาติ 

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง