วีซ่าจีน ทำงาน

แนะนำ วีซ่าจีน ทำงาน วีซ่าทำงาน Z  ชาวต่างชาติที่จะทำงานในจีนต้องมีมีวีซ่าทำงาน และมีใบอนุญาตทำงาน

 

วีซ่าทำงาน หลายคนอยากทำงานในประเทศจีน ก่อนอื่นท่านต้องทราบก่อนว่า วีซ่าจีน ทำงาน ทำอย่างไร MESUB TRAVEL จะมาเล่าให้ฟังค่ะ

ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย ชาวจีนจะต้องมีหนังสือเดินทางประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa หรือ TR Visa) เสียก่อน ทั้งนี้ ผู้ขอจะต้องยื่นขอใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวหรือหนังสือเดินทางทำงาน วีซ่าจีน ทำงาน จากสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศจีน โดยในการ ขอหนังสือเดินทางท่องเที่ยวครั้งแรก ผู้ขอยื่นจะได้รับหนังสือเดินทางเข้าครั้งเดียว (Single Entry) มีอายุหนังสือเดินทาง 3 เดือน และมีระยะเวลาพำนัก 60 วัน/ครั้ง ประทับตราขาเข้าโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย

และเมื่อหนังสือเดินทางท่องเที่ยวใกล้จะหมดอายุ ชาวจีนสามารถยื่นขอต่ออายุหนังสือเดินทางได้ 1 ครั้ง (Tourist Visa หรือ TR Visa Extension) เป็นการขอต่อใบอนุญาตเพื่ออยู่ท่องเที่ยวต่อในประเทศไทย โดยที่หนังสือเดินทางเดิมยังไม่หมดอายุ สำหรับการขอต่อหนังสือเดินทางครั้งแรก ผู้ขอยื่นจะได้รับการขยายหนังสือเดินทางให้สูงสุด 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตเดิมสิ้นสุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย

 

วีซ่าทำงาน Z 

 

ต่อวีซ่าจีน ทำวีซ่าทำงานในจีน  >> คลิกที่นี่ <<

เมื่อจีนกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก หลายปีมานี้ชาวต่างชาติมากมายจึงหลั่งไหลเข้าไปไขว่คว้าโอกาสเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับคนไทยจำนวนไม่น้อยที่สนใจเข้าไปธุรกิจ หรือเรียนต่อยังประเทศจีนค่ะ

นอกจากต้องมีทักษะการทำงานและทักษะทางภาษาจีนที่ดีแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลย หากคุณมีโอกาสได้ทำงานที่ประเทศจีน คือ วีซ่าจีน ทำงาน ‘วีซ่าทำงาน ประเภท Z’ ที่จะเป็นใบเบิกทางสำคัญของชาวต่างชาติในการเข้าไปใช้ชีวิตการทำงานที่ประเทศจีนนั่นเองค่ะ

สำหรับผู้ที่จะขอทำวีซ่าทำงาน Z (วีซ่าจีน ทำงาน)ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีประสบการณ์การทำงานในสายงานนั้น ๆ มาอย่างน้อย 2 ปี และทางสถานฑูตจีนจะตรวจสอบประวัติให้แน่ใจว่าไม่มีประวัติอาชญากรรมมาก่อน

เอกสารที่จำเป็นกับการขอทำวีซ่าทำงาน Z ได้แก่

1. ใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ (Work Permit)

2. จดหมายเชิญจากหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ ทั้งสองอย่างนี้จะต้องออกโดยหน่วยงานที่ประเทศจีนค่ะ

ตัววีซ่ามีอายุ 3 เดือน ซึ่งหลังจากเดินทางเข้าประเทศจีนแล้ว ภายใน 30 วัน ผู้ถือวีซ่าต้องดำเนินการขอใบอนุญาตขอพำนักระยะยาว (Residence Permit) ต่อหน่วยงานสันติบาลในพื้นที่ให้เสร็จสิ้น โดยระยะเวลาที่ได้จะสูงสุดอยู่ที่ 5 ปีนะคะ

การขอต่ออายุหนังสือเดินทางประเภทอื่น พร้อมเอกสารที่ใช้ในการต่อหนังสือเดินทาง วีซ่าจีน ทำงาน

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีทำงาน

  • แบบคำขอ ตม.7
  • รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป
  • ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (หน้าที่มีรูปถ่าย, หนังสือเดินทาง, ตราเดินทางเข้าครั้งสุดท้าย, บัตรขาออก (ตม.6), ตรา RE-Entry Permit, ตราประทับการอนุญาตให้อยู่ต่อครั้งสุดท้าย และลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
  • หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)
  • สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
  • สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด พร้อมแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และใบเสร็จรับเงิน และสำเนา สบช.3 (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
  • สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าว ให้ทำหนังสือชี้แจง และคนต่างด้าวห้ามมีรายชื่อใน ภ.ง.ด.1 ก่อนมีใบอนุญาตทำงาน)
  • สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  • สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  • สำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.36) ของปีงบการเงินล่าสุด 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  • เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
  • แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)
    เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด (แบบ สตม.2)
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกแผ่น)
    ภายนอก ให้ปรากฏรูปถ่ายสภาพตัวอาคาร เลขที่ตั้ง และป้ายชื่อสถานประกอบการ
    ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานคนไทยและคนต่างด้าวขณะปฏิบัติงานอยู่
  • ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้
  • แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศจีนด้วย

ขั้นตอนที่ 1 การขอใบอนุญาตจ้างงานชาวต่างชาติ

1. นายจ้างติดต่อและแจ้งตำแหน่งงานว่างต่อ สนง.จัดหางานมณฑลยูนนาน เพื่อให้ สนง.จัดหางานดำเนินการประกาศรับสมัครงาน หรืออนุมัติให้นายจ้างประกาศรับสมัครงานผ่านสื่อต่างๆ หากไม่มีบุคคลสัญชาติจีนสนใจสมัครภายใน 30 วัน จึงจะสามารถจ้างชาวต่างชาติได้

2. นายจ้างยื่นขอใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติต่อกรมที่ทำหน้าที่ดูแลหน่วยงานของนายจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ (โดยทั่วไป ธุรกิจเอกชนจะต้องยื่นต่อ สนง.พาณิชย์) พร้อมเอกสารดังนี้

– แบบฟอร์มขอใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติ ดาวน์โหลดได้ที่ www.ynl.gov.cn

– ประวัติส่วนตัวของชาวต่างชาติ

– หนังสือแสดงความจำนงในการจ้างงาน

– รายงานเหตุผลในการจ้างงานชาวต่างชาติและหนังสือรับรองว่าไม่มีคนจีนสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าวซึ่งออกให้โดย สนง.แรงงานในท้องถิ่น

– ประกาศนียบัตรรับรองทักษะเฉพาะด้านที่จำเป็นต่อการทำงาน และประวัติการทำงานของชาวต่างชาติ

– หนังสือรับรองสุขภาพจากสถานพยาบาลในประเทศของชาวต่างชาติ

– หนังสือจดทะเบียนของบริษัทนายจ้างและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

– เอกสารอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

3. เมื่อกรมที่ทำหน้าที่ดูแลหน่วยงานของนายจ้างในท้องถิ่นนั้นๆ ทำการตรวจสอบและให้การอนุมัติแล้ว นายจ้างนำเอกสารทั้งหมดไปติดต่อ สนง.จัดหางานมณฑลยูนนาน เพื่อออกใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การออกหนังสือรับรองเพื่อขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) ให้แก่ชาวต่างชาติ

นายจ้างนำใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติไปติดต่อหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกหนังสือรับรองเพื่อขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) ให้แก่ชาวต่างชาติ (โดยทั่วไปมักจะเป็น สนง.ต่างประเทศมณฑลยูนนาน หรือ สนง.ความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศมณฑลยูนนาน) เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวออกหนังสือรับรองเพื่อขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) ให้แก่ชาวต่างชาติต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 การยื่นขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) วีซ่าจีน ทำงาน

เมื่อชาวต่างชาติได้รับใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติ และหนังสือรับรองเพื่อขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) ให้แก่ชาวต่างชาติแล้ว ให้นำเอกสารดังกล่าวพร้อมหนังสือเดินทางและเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไปยื่นขอวีซ่าประเภททำงาน (Z) ณ สอท./สกญ.จีน ณ ประเทศไทยต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน วีซ่าจีน ทำงาน

นายจ้างจะต้องติดต่อหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติ (สนง.จัดหางานมณฑลยูนนาน) เพื่อขอออกใบอนุญาตทำงาน ภายใน 15 วันนับจากวันแรกที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจีน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

– หนังสือเดินทางที่มีวีซ่าประเภททำงาน (Z) หรือเอกสารที่สามารถใช้แทนหนังสือเดินทางพร้อมสำเนา

– สัญญาการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับชาวต่างชาติ

– แบบฟอร์มขอใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ

– หนังสือรับรองสุขภาพที่ออกให้โดยสถานพยาบาลที่ สนง.ควบคุมอนามัยและกักกันโรคกำหนด

– ใบอนุญาตให้จ้างงานชาวต่างชาติ

– เอกสารอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

ขั้นตอนที่ 5 การยื่นขอใบอนุญาตพำนักอาศัยในประเทศจีน

หลังจากได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว ชาวต่างชาติดังกล่าวจะต้องติดต่อ สนง.ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อยื่นขอใบอนุญาตพำนักอาศัยในประเทศจีน ภายใน 30 วันนับจากวันแรกที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจีน

ด้วยความที่จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีการแข่งขันที่สูง ทำให้ธุรกิจจีนพัฒนาก้าวหน้าไปในทุก ๆ วัน การได้ทำงานที่ประเทศจีนจึงเป็นเหมือนการประตูแห่งโอกาส ที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมายหลายด้าน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตอีกด้วยนั่นเองค่ะ

รับทำหนังสือเดินทางสำหรับชาวจีน รับต่อหนังสือเดินทางสำหรับชาวจีน สะดวก รวดเร็ว ครบวงจร อันดับ 1
MESUB TRAVEL เชี่ยวชาญด้านการให้บริการรับทำ Visa ต่อหนังสือเดินทาง รับทำใบอนุญาตทำงาน (Work permit) รับทำหนังสืออนุญาตทำงาน ให้ชาวต่างชาติแบบครบวงจร

บริการรับทำหนังสือเดินทางจีน รับต่อหนังสือเดินทางจีน บริการที่ปรึกษาด้านหนังสือเดินทางทุกประเภท ดูแลท่านโดยทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีประสบการณ์ในการทำงานยาวนาน ร่วมกับทีมงานคุณภาพที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ ในราคามิตรภาพ บริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำในทุกแง่มุมของการทำ Visa ต่อหนังสือเดินทาง ทำ Work permit และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด MESUB TRAVEL  พร้อมดูแลจัดการ เตรียมเอกสาร และให้คำแนะนำแบบผู้รู้จริง ถูกต้อง และชัดเจน ด้วยประสบการณ์มากมายในวงการนี้ เราจึงมีความมั่นใจเป็นอย่างมากในการให้บริการที่มีคุณภาพ ถูกต้อง แม่นยำ ยินดีให้คำปรึกษาและบริการแก่ทุกท่านค่าาา    >> คลิกที่นี่ <<

Q&A

Q&A การทำธุรกิจในจีน วีซ่าจีน ทำงาน

QA ชาวต่างชาติที่ทำงานในจีน มีขั้นตอนในการขอบัตรทำงานอย่างไรบ้าง

ชาวต่างชาติจะสามารถทำงานในจีนได้จะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตการทำงานที่จีน
  • บัตรทำงานที่จีน
  • วีซ่าทำงาน (วีซ่า ประเภท Z)
  • ใบรับรองที่อยู่ชั่วคราวของคนต่างชาติ

ก่อนที่คนต่างชาติเดินทางเข้ามาในอาณาเขตของประเทศจีน บริษัทต้องไปยื่นคำขออนุญาตทำงานที่จีนที่กรมแรงงานและประกันสังคมในท้องถิ่น โดยนำเอกสารประกอบการยื่นคำขอดังต่อไปนี้

  • คู่ฉบับใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัท  หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ถ้าเป็นบริษัทจีนต้องมีเอกสารจดทะเบียนการประกันสังคม (ฉบับต้นและฉบับสำเนา) ถ้าเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจีนกับต่างประเทศต้องมีหนังสืออนุญาตการก่อตั้ง บริษัท (ฉบับสำเนา) และสัญญาการร่วมทุน (ฉบับสำเนา)
  • หนังสือรับรองของบริษัท ซึ่งต้องอธิบายเหตุผลการจ้าง ตำแหน่งของลูกจ้างคนต่างชาติรวมทั้งการประทับตราของบริษัท
  • สัญญาการจ้างงานระหว่างบริษัทและลูกจ้างคนต่างชาติ ถ้าเป็นการจ้างตำแหน่งรองผู้จัดการขึ้นไป ต้องมีคำยินยอมของคณะกรรมการบริหารของบริษัท หากไม่มีคณะกรรมการบริหาร ต้องมีผู้รับผิดชอบตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทลงชื่อ
  • หลักฐานการศึกษาและใบผ่านงาน (ต้องจบปริญญาตรีและมีประสบการณ์ 2 ปีขึ้นไป) ถ้าหลักฐานการศึกษาและใบผ่านงานเป็นภาษาต่างประเทศ ควรเสนอฉบับแปลที่เป็นภาษาจีนด้วยโดยมีบริษัทการแปลประทับตรา
  • ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)

หลังจากได้รับอนุญาตทำงานที่จีนจากกรมแรงงานและประกันสังคมในท้องถิ่นแล้ว บริษัทสามารถส่งหนังสือแจ้งทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานที่จีนให้คนต่างชาติโดยผ่านกรมพาณิชย์ใน ท้องถิ่น คนต่างชาติที่ได้รับเอกสารดังกล่าวนั้นสามารถนำเอกสารไปขอวีซ่าทำงาน (วีซ่าประเภท Z) ที่สถานเอกอัครราชทูต (หรือ สถานกงสลใหญ่ของจีน) ณ ประเทศนั้นๆ

เมื่อจบขั้นตอนนี้ คนต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในอาณาเขตจีนแล้ว และภายใน 15 วันที่คนต่างชาติเดินทางมาถึง บริษัทต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้เพื่อไปขอทำบัตรทำงานที่กรมแรงงานและประกัน สังคมในท้องถิ่น

  • ต้นฉบับใบอนุญาตทำงานที่จีน
  • ใบรับรองแพทย์ที่ออกหรือยืนยันโดยสำนักงานการตรวจสอบอนามัยในท้องถิ่น
  •  คู่ฉบับใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัท  หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ถ้าเป็นบริษัทจีนต้องมีเอกสารจดทะเบียนการประกันสังคม (ฉบับต้นและฉบับสำเนา) ถ้าเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจีนกับต่างประเทศต้องมีหนังสืออนุญาตการก่อตั้ง บริษัท (ฉบับสำเนา) และสัญญาการร่วมทุน (ฉบับสำเนา)
  • สัญญาการจ้างงาน
  • หนังสือเดินทาง
  • รูปถ่าย 35*53mm 2 รูป
  • แบบจดทะเบียนการทำงานที่จีนของชาวต่างชาติตามที่กรมแรงงานและประกันสังคมในท้องถิ่น

หลังจากชาวต่างชาติได้รับบัตรทำงานเรียบร้อยแล้ว ต้องไปจดทะเบียนการอยู่ชั่วคราวที่สถานีตำรวจในถ้องถิ่นภายใน 30 วันที่ชาวต่างชาติเข้ามาอาณาเขตจีนแล้ว

คำแนะนำสำหรับคนไทยที่มาทำงานในมณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน

เพื่อประโยชน์ของคนไทย ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ และการปฏิบัติที่ไม่สมควรต่อคนไทย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง จึงขอแจ้งเตือนและแนะนำคนไทยที่ทำงานหรือประสงค์จะมาทำงานในมณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน ดังนี้

การเตรียมการก่อนเดินทางมาทำงานที่ประเทศจีน

  • ตรวจสอบความน่าเชื่อถือและข้อมูลเกี่ยวกับนายหน้า นายจ้าง และสถานที่ทำงานของท่านก่อนเดินทางมาจีน และอย่าหลงเชื่อบุคคลหรือข้อมูลใด ๆ หากไม่แน่ใจ ขอให้สอบถามหน่วยงานราชการ เช่น กรมการจัดหางาน ก่อนเดินทางหรือตกลงใด ๆ
  • ควรติดต่อ ลงทะเบียน และปฏิบัติตามกระบวนการของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (ไทย) ก่อนเดินทางมาทำงานในต่างประเทศ

สัญญาจ้างและเงื่อนไขการทำงาน

  • กฎหมายจีนกำหนดว่า การทำงานจะต้องมีสัญญาจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันและลงนามร่วมกันทั้งสองฝ่าย โดยสัญญาจ้างต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน เป็นธรรม และเหมาะสม เช่น ระยะเวลาการจ้าง ค่าจ้าง กำหนดจ่ายค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ต่างๆ และการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด (โดยลูกจ้างควรมีสิทธิ์ขอยกเลิกสัญญาได้)
  • เก็บสัญญาจ้างไว้ที่ตนเอง 1 ชุด และหากทำสัญญาหรือแปลเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ไว้ด้วย (ให้เนื้อหาตรงกับภาษาจีน) ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวท่านเอง ทั้งนี้ การทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นปัจจุบันและชัดเจน ย่อมเสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหากับนายจ้างในภายหลัง
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และมาตรการของทางการท้องถิ่น หากมีการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ เช่น จะย้ายที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย ควรศึกษาและปฏิบัติตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนถูกต้องก่อน หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ ควรสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการใด ๆ
    หนังสือเดินทางไทย (พาสปอร์ต)
  • หนังสือเดินทาง เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ซึ่งออกให้คนไทยใช้เดินทางและแสดงตน ในต่างประเทศ บุคคลอื่น (รวมทั้งนายจ้างและนายหน้า) ไม่มีสิทธิ์ยึด หรือครอบครองหนังสือเดินทางของคนไทยไว้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งนี้ การยึดหนังสือเดินทางเป็นความผิดตามกฎหมายทั้งของไทยและจีน
  • การยึดหนังสือเดินทาง ไม่ใช่วิธีการควบคุม บังคับ หรือต่อรองกับลูกจ้าง ที่นายจ้างพึงกระทำ หากท่านถูกยึดหนังสือเดินทาง สามารถขอความช่วยเหลือจากตำรวจท้องที่ได้
  • เก็บหนังสือเดินทางไว้กับตนเอง หากสูญหาย หรือชำรุด ขอให้ติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยเร็ว
    สวัสดิภาพและความปลอดภัย
  • เมื่อเดินทางมาถึงจีน หรือย้ายเข้ามาจากพื้นที่อื่นของจีน ควรแสดงตนและลงทะเบียน คนไทยกับสถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารและขอความช่วยเหลือต่าง ๆ
  • ควรทราบวิธีการและสถานที่ขอรับบริการจากหน่วยงานท้องถิ่นของจีนในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือเหตุฉุกเฉิน และสามารถติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีจำเป็นเร่งด่วนด้วย
  • เก็บเอกสารสำคัญอื่น ๆ ของท่าน เช่น เอกสารที่ทางราชการออกให้ วุฒิการศึกษา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฯลฯ ไว้กับตนเอง (เช่นเดียวกับหนังสือเดินทาง การยึดเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไม่ใช่วิธีการควบคุม บังคับ หรือต่อรองกับลูกจ้าง ที่นายจ้างพึงกระทำ)
  • ดูแลเอกสารสำคัญและบัญชีต่าง ๆ ของท่าน (เช่น บัตร ATM โทรศัพท์มือถือ และช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น วีแชท) ให้มีความปลอดภัย พร้อมใช้งาน รู้จักวิธีการใช้ และควบคุมได้เองอยู่เสมอ ทั้งนี้ การใช้บริการต่าง ๆ เช่น ซิม/เบอร์โทรศัพท์ และ การเปิดบัญชีธนาคาร (กับธนาคารที่ยินยอมเปิดบัญชีให้คนต่างชาติ) เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่นไม่สามารถขัดขวางได้
  • หากมีการกระทำผิดกฎหมายต่อท่าน เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกบังคับข่มขู่ ฯลฯ ให้รีบแจ้งตำรวจท้องที่ และสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยเร็วที่สุด
  • สำคัญมากๆ ในกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ ให้ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งตำรวจท้องที่เพื่อดำเนินคดีโดยเร็วที่สุด

เวลานี้ ประเทศจีนยังคงมีความต้องการ แรงงานทักษะสูง เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในเวลานี้เราต้องยอมรับว่ากระแสการหาและดึงตัวบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในสาขาต่างๆที่ขาดแคลน คือสิ่งที่หลายประเทศกำลังทำกันอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ยิ่งมักทำข้อเสนอที่ “ปฏิเสธได้ยาก” เพื่อจูงใจแรงงานทักษะสูงเหล่านั้น

แล้วท่ามกลางกระแส ย้ายประเทศ ที่กำลังเป็นเทรนด์ในสังคมโซเชียลของไทย จึนถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ยังคงมีความต้องการแรงงานทักษะสูงเช่นกัน แต่ก่อนอื่นลองมาดูกันว่า จีนต้องการอะไรบ้าง และภาพรวมของข้อเสนอที่จีนมอบให้คืออะไร เพื่อไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจอยากจะศึกษาต่อที่จีนหรือหาโอกาสในการทำงานที่ประเทศจีน ในยุคหลังจากโควิด-19 ด้วยค่ะ

เมื่อเร็วๆนี้ จีนได้ทำการผลักดันนโยบายสำคัญที่ว่าด้วยการ “ดึงดูดแรงงานต่างชาติที่มีทักษะสูง” เพื่อเข้ามาช่วยเสริมในส่วนที่จีนยังขาดแคลนอยู่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปี ที่ต้องการผลักดันให้จีนกลายเป็นประเทศชั้นนำในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแข่งขันกับตลาดโลกได้ ซึ่งนโยบายนี้จะมีการกำหนดมาตรการสำหรับการดึงดูดแรงงานทักษะสูงเข้ามา เพื่อขับเคลื่อนในวงการต่างๆ อาทิ

  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
  • วิทยาศาสตร์
  • ควอนตั้มคอมพิวเตอร์
  • การแพทย์
  • ชีวเคมี
  • การบินและอวกาศ
  • การสำรวจใต้ทะเล

มาตรการสำหรับแรงงานต่างชาติ

สำหรับแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปีของจีน จะออกแนวทางในแง่ของการดึงนักวิจัยไปจนถึงแลกเปลี่ยนนักวิจัยในด้านเหล่านี้ในจีนและต่างประเทศ โดยเอื้อให้กับพวกเขาเหล่านั้นด้วยมาตรการต่างๆ เช่น

  • การออกใบอนุญาตทำงานแบบพิเศษ
  • การพัฒนาระบบการให้สิทธิพำนักอาศัยถาวร
  • การช่วยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการเข้ามาพำนักอาศัยในประเทศจีน
  • การอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานองค์กรด้านเทคโนโลยีระดับชาติ
  • การสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงการรับแรงงานต่างชาติทักษะสูงเพิ่มเติม

 

จีนในปัจจุบันจึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความต้องการแรงงานความสามารถสูงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และจีนเองก็เข้าใจถึง สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งคาดว่าจีนจะมีการปรับระดับของข้อเสนอสำหรับแรงงานทักษะสูงเหล่านี้ขึ้นไปอีกถ้าจำเป็น หากใครเป็นหนึ่งในคนที่อยากไปทำงานที่จีนละก็ นึกถึง MESUB TRAVEL ได้เลยค่ะ ยินดีให้บริการทุกท่าน 

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง