วีซ่าชาวต่างชาติ

วีซ่าชาวต่างชาติ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก วีซ่าชาวต่างชาติจึงตอบโจทย์หลาย ๆ คนที่อยากมาอยู่เพื่อท่องเที่ยว ทำงาน เรียนต่อ หรือใช้ชีวิตหลังเกษียณ  การขอวีซ่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติที่มาอยู่ไทย บทความนี้จะอธิบายประเภทของวีซ่า เอกสารที่ต้องใช้ และขั้นตอนการขอวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติที่มีแพลนจะมาอยู่ไทยไม่ว่าจะระยะสั้น หรือ ระยะยาว

 

วีซ่าชาวต่างชาติ

ประเภทของวีซ่า

วีซ่าสำหรับชาวต่างชาติที่มาอยู่ไทยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ดังนี้

  • วีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa)

    • วีซ่าประเภทนี้อาจจะต้องใช้สำหรับบางประเทศ โดยเหมาะสำหรับผู้ที่มาเที่ยวไทยระยะสั้นไม่เกิน 30 วัน สามารถขอวีซ่าได้ที่สถานทูต หรือ สถานกงสุลไทยในประเทศต้นทาง หรือ ขอรับ “Visa on Arrival” เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยก็ได้เช่นเดียวกัน
  • วีซ่า Non-Immigrant O (Business Visa)

    • วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มาประกอบธุรกิจในไทย เช่น ทำงาน ลงทุน หรือเปิดบริษัท สามารถขอวีซ่าได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศต้นทาง
  • วีซ่า Non-Immigrant ED (Education Visa)

    • วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มาเรียนต่อในไทย สามารถขอวีซ่าได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศต้นทาง
  • วีซ่า Non-Immigrant B (Spouse Visa)

    • วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสของคนไทย สามารถขอวีซ่าได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศต้นทาง
  • วีซ่า Long Stay Thailand (LTR)

    • วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง หรือผู้ที่เกษียณแล้วต้องการอยู่ระยะยาวในประเทศไทย สามารถขอวีซ่าได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

 


เอกสารที่ต้องใช้สำหรับวีซ่าชาวต่างชาติ

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่าแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า เอกสารทั่วไปที่ต้องใช้ ได้แก่

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
  • รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ
  • ใบสมัครขอวีซ่า
  • หลักฐานแสดงสถานะทางการเงิน เช่น สมุดบัญชีธนาคาร หนังสือรับรองการทำงาน
  • หลักฐานแสดงที่พักในไทย
  • หลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการเดินทาง เช่น จดหมายเชิญ หนังสือรับรองการเข้าศึกษา

 


ขั้นตอนการขอวีซ่า

  • เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
  • กรอกใบสมัครขอวีซ่า
  • ยื่นขอวีซ่าที่สถานทูต หรือ สถานกงสุลไทยในประเทศต้นทาง
  • ชำระค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า
  • รอรับผลการพิจารณา

แต่หากใครต้องการคำแนะนำเรื่องวีซ่าสามารถขอคำปรึกษาการเตรียมเอกสารต่าง ๆ สามารถติดต่อที่ทาง Mesub Travel โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link นี้เลย

 


วีซ่า LTR

 

แล้ว LTR Visa คืออะไร?

วีซ่า LTR (Long-Term Resident Visa) วีซ่าประเภทใหม่จากประเทศไทย เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติกลุ่มที่มี Potential โดยสามารถอยู่ในไทยได้ระยะยาวสูงสุดถึงง 10 ปี โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน

4 กลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับวีซ่า LTR

  1. ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง: กลุ่มนี้มักมีสินทรัพย์มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ เช่น กลุ่มนักลงทุน นักธุรกิจ และเศรษฐี
  2. ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ: กลุ่มนี้มักมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบสบายๆในประเทศไทย เช่น อดีตนักธุรกิจ แพทย์ และวิศวกร
  3. ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง: กลุ่มคนที่ทำงานให้กับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ หรือ สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้รวมถึงประเทศไทย (Work-From-Thailand Professionals) และมีทักษะพิเศษที่ตรงกับความต้องการของประเทศไทย เช่น โปรแกรมเมอร์ วิศวกร AI และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
  4. ผู้มีทักษะพิเศษ: กลุ่มนี้มีทักษะพิเศษที่หายากและเป็นที่ต้องการในประเทศไทย เช่น แพทย์เฉพาะทาง นักวิจัย และนักกีฬา

 


วีซ่า LTR มอบสิทธิประโยชน์มากมายแก่ผู้ถือวีซ่า

  • ระยะเวลาวีซ่า: มีอายุ 10 ปี ซึ่งยาวนานกว่าวีซ่าประเภทอื่นๆ มาก ผู้ถือวีซ่าไม่ต้องกังวลเรื่องการต่ออายุวีซ่าบ่อยๆ
  • ยกเว้นอัตราส่วนการจ้างงาน: ไม่ต้องกังวลเรื่องกฎเกณฑ์ เนื่องจากจะเป็นอัตราส่วนการจ้างงานพนักงานคนไทย 4 คน ต่อชาวต่างชาติ 1 คน
  • ช่องทางพิเศษ: สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกประเทศ ช่วยประหยัดเวลาในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง
  • รายงานตัว: รายงานตัวทุก 1 ปี จากเดิมที่ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
  • การทำงาน: สามารถทำงานในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน
  • ภาษี: คนที่มี Skill พิเศษ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียง 17%
  • ผู้ติดตาม: ผู้ถือวีซ่า LTR สามารถพาบุตรหลาน และคู่สมรสมาอยู่ที่ประเทศไทยได้

 


 

การสมัครวีซ่า LTR

  • สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://thaievisa.go.th/
  • เตรียมเอกสารตามเงื่อนไขที่ระบุ
  • ชำระค่าธรรมเนียม

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง