วีซ่าเกาหลีใต้

 

การเดินทางไปยังประเทศเกาหลีใต้ สำหรับคนไทยนั้นไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าเกาหลีใต้สำหรับท่องเที่ยว แต่จำเป็นที่จะต้องขอ K-ETA แต่ก็ยังมีบางกรณีที่คนไทยจำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทาง เช่น เดินทางไปเรียนต่อ ไปทำงานชั่วคราว หรือ ระยะยาว บทความนี้เลยเป็นการมาแนะนำเพื่อน ๆ นักเดินทางชาวไทยที่อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่า เกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ K-ETA คืออะไร ทำไมต้องขอ ขอยากไหม หรือ วีซ่า เกาหลีใต้มีกี่ประเภท

 

วีซ่าเกาหลีใต้

ประเภทของวีซ่า เกาหลีใต้

วีซ่าเกาหลีใต้มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ประเภทวีซ่านิยมสำหรับคนไทย

  • วีซ่าธุรกิจ (B-1) สำหรับการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ
  • วีซ่าทำงาน (E-9) สำหรับการเดินทางไปทำงานในเกาหลีใต้
  • วีซ่านักเรียน (D-2) สำหรับการเดินทางไปศึกษาต่อในเกาหลีใต้

 

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอวีซ่า

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอวีซ่าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า อย่างไรก็ตามเอกสารทั่วไปที่ต้องเตรียมสำหรับ 3 วีซ่าที่กล่าวไปข้างต้น ได้แก่

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุการเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3.5 x 4.5 ซม. จำนวน 2 รูป
  • ใบสมัครขอวีซ่าที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
  • หลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
  • หลักฐานการจองที่พัก
  • หลักฐานแสดงฐานะการเงิน
  • เอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า

 

ขั้นตอนการขอวีซ่า

  1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
  2. ยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตเกาหลีใต้ หรือสถานกงสุลเกาหลีใต้
  3. ชำระค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า
  4. รอรับผลวีซ่า

 

ระยะเวลาในการพิจารณาวีซ่า

ระยะเวลาในการพิจารณาวีซ่าโดยทั่วไปจะใช้เวลา 3-5 วันทำการ

 

ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า

ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า

 


K-ETA

K-ETA คืออะไร?

K-ETA ย่อมาจาก Korea Electronic Travel Authorization เป็นระบบใบอนุญาตการเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ริเริ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคนเข้าเมือง โดยตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 คนไทยที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้เพื่อการท่องเที่ยว เยี่ยมเยียนครอบครัว ทำธุรกิจ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ จำเป็นต้องขอรับ K-ETA ล่วงหน้า

วิธีการสมัคร K-ETA

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ K-ETA: https://www.k-eta.go.kr/portal/apply/index.do
  2. เลือก “สมัคร K-ETA”
  3. กรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน
  4. อัปโหลดรูปถ่ายหน้าตรง
  5. ชำระค่าธรรมเนียม 10,000 วอน (ประมาณ 280 บาท)
  6. รอรับผล K-ETA ทางอีเมล

ระยะเวลาการพิจารณา

โดยทั่วไป K-ETA จะได้รับการอนุมัติภายใน 72 ชั่วโมง แต่ในบางกรณีอาจใช้เวลานานกว่านั้น

อายุการใช้งาน K-ETA

K-ETA มีอายุการใช้งาน 2 ปี

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3.5 x 4.5 ซม.
  • บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต

เอกสารที่ต้องแสดงกับตมเกาหลีใต้

  • แสดง K-ETA แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
  • แสดงหนังสือเดินทาง
  • แสดงหลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
  • แสดงหลักฐานการจองที่พัก
  • แสดงหลักฐานแสดงฐานะการเงิน

กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องขอ K-ETA

  • ผู้ที่มีวีซ่าเกาหลีใต้ที่มีอายุการใช้งานเหลืออยู่
  • ผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักถาวรในเกาหลีใต้
  • ลูกเรือ (Cabin Crew)
  • ผู้โดยสารเครื่องบิน transit

 

ตม.เกาหลีใต้

อย่างไรก็ตามตม. เกาหลีใต้ หรือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ มีชื่อเสียงในเรื่องความเข้มงวด บทความนี้จึงจะเป็นการให้คำแนะนำเพื่อช่วยให้คุณผ่านด่าน ตม. เกาหลีใต้ได้อย่างราบรื่นก่อนเดินทาง

  • เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน: หนังสือเดินทางที่มีอายุอย่างน้อย 6 เดือน ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ หลักฐานการจองที่พัก ใบสมัคร K-ETA (ถ้าจำเป็น)
  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ และคำถามที่พบบ่อย: โดยศึกษากฎระเบียบการเข้าเมืองของเกาหลีใต้ ฝึกตอบคำถามภาษาอังกฤษ เตรียมแผนการเดินทางเผื่อเจ้าหน้าที่ ตม. ถาม เช่น สถานที่ที่จะไป แพลนที่จะเดินทางกลับต่าง ๆ
  • การแต่งกาย: แต่งกายสุภาพเรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสัก ถอดหมวก แว่นกันแดดก่อนเข้าด่านตรวจ
  • ขั้นตอนแสดงเอกสาร: ยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ ตม. ตอบคำถามอย่างมั่นใจ มีสติโดยวางตัวสงบ นิ่ง พูดจาสุภาพ หลีกเลี่ยงการแสดงท่าทางที่น่าสงสัย
  • กรณีเด็กเดินทาง: เด็กต้องเดินทางพร้อมผู้ปกครอง เตรียมเอกสารแสดงความสัมพันธ์

ปัญหาที่พบบ่อย และ คำแนะนำ

  • เอกสารไม่ครบถ้วน: ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนเดินทาง
  • ตอบคำถามภาษาอังกฤษไม่ได้: ฝึกตอบคำถามภาษาอังกฤษ หรือ เตรียมล่าม
  • ถูกส่งไปห้องเย็น: รอจนกว่าเจ้าหน้าที่ ตม. สอบสวนเสร็จ ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

 

หากใครมีเอกสารที่เป็นฉบับภาษาไทย และต้องการแปลเป็นภาษาอังกฤษ สามารถติดต่อบริการแปลภาษาของทาง Mesub Travel ได้ที่นี้

ทำไมถึงถูกปฏิเสธวีซ่า?

บทความที่เกี่ยวข้อง